วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561

สุรา : Alcohol



Alcohol


"สุราหรือแอลกอฮอล์" เป็นสารเสพติดที่มีทั้งคุณและโทษ เมื่อดื่มแล้วจะทำให้เกิดผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยโทษของสุรานั้นอาจมีตั้งแต่ขั้นเบา ไปจนถึงขั้นรุนแรงอย่างเช่น เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด และที่รุนแรงคือหมดสติ

           ผู้ที่ดื่มสุราเป็ฯประจำจนติดสุรา จะมีนัยน์ตาแดง หน้าบวมฉุ มือสั่น เนื้อตัวสกปรก แต่งกายไม่เรียบร้อย และถ้าไม่ได้ดื่มจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิด ฝันร้าย และประสาทหลอน


           ดังนั้นสุราจึงถูกควบคุมทั้งการจำหน่าย และการผลิต จากกฏหมายอย่างเคร่งครัด



โทษของสุรา

ระบบประสาทส่วนปลายจะทำให้เกิดมีหลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือ, ปลายเท้า เป็นอาการของเหน็บชา, อาการทรงตัวเสียไป 

สมองเมื่อเริ่มดื่มสุราใหม่ ๆ จะทำให้ระบบควบคุมการทำงาน จะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า, สดชื่น มีการเปลี่ยนแปลทางบุคลิก เมื่อดื่มสุรามากขึ้นจะเกิดอาการมึนเมาง่วงนอนหลับ หมดสติ 

กระเพาะอาหารพิษของสุราจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ซึ่งกรดในกระเพาะก็จะเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะ จะทำให้เกิดมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนเป็นเลือดได้ 

ตับอ่อนเมื่อดื่มสุรามากๆ แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นตับอ่อนทำให้หลั่งน้ำย่อยออกมามาก ทำให้เกิดมีตับอ่อนอักเสบมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ไข้สูง ในบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

ตับ ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำลายแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกดูดซึมเข้าลำไส้ แล้วส่งตรงไปยังตับเพื่อลาย เมื่อมีปริมารน้อยร่างกายก็ทนทานได้เมื่อมีปริมารมากขึ้นตับก็จะบวม มีไขมันไปแทรกตามเซลล์ของตับ เมื่อมีอาการนานเข้าจะทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งจะมีอาการมานน้ำอาเจียนเป็นเลือด และอาจจะแปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งของตับได้ ดังนั้นโทษของการดื่มสุราอย่างเห็นได้ชัดในคนส่วนใหญ่คือการเป็นโรคตับแข็งนั่นเอง 

ระบบหัวใจเมื่อดื่มสุรามากๆ จะทำให้การเต้นและการบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ หัวใจเต้นเร็วขึ้นและขณะเดียวกันถ้าดื่มสุรามากจะขาดวิตามินบีหนึ่ง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานไม่ดี ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดหัวใจโต ทำงานไม่ได้ตามปกติ จะมีอาการเต้นไม่ปกติได้ 

ระบบหลอดเลือดแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัวและทำให้ไขมันในเลือดสูงทำให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย

ขอขอบคุณภาพจาก : สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น